วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วีดีโอประวัติส่วนตัว

http://youtu.be/0BI7FkgRs3Y

digg




         ดิกก์ (Digg) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นข่าวเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ โดยผสม social bookmarking บล็อก และการเชื่อมโยงเนื้อหาเว็บ เข้าด้วยกัน และมีการกรองคัดเลือกเนื้อหาในลักษณะการร่วมลงคะแนนที่ทุกคนเท่าเทียมกัน (ไม่มีลำดับชั้น) เนื้อหาข่าวและเว็บไซต์จะถูกส่งเข้ามาโดยผู้ใช้ จากนั้นจะถูกเลื่อนให้ไปแสดงที่หน้าแรกผ่านระบบการจัดอันดับโดยผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างจากระบบการกรองคัดเลือกเนื้อหาในเว็บไซต์อื่น ๆ จำนวนมากใช้อยู่

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวการศึกษา


ชวนเยาวชนคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ 'ค่ายซัมซุงสร้างนักคิด'

ผ่านไปแล้วสำหรับโครงการ 'Samsung Hope for Children' หรือซัมซุงสร้างนักคิด ของภาคกลาง ภายใต้โจทย์ 'นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพสังคมและชุมชน' เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เข้ามาส่งเสริมเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่เยาวชนไทยต่อไปในอนาคต โดยเยาวชน 20 ทีมจากภาคกลางที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้เข้ามาร่วมกิจกรรม เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากกว่า 4,000 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโดยนำเสนอแนวคิดที่สนุกสร้างสรรค์ แปลกใหม่ น่าสนใจ และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคมต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ กิจกรรมในค่ายจะมีทั้งการเรียนการสอนกับอาจารย์รัศมี ธันยธร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ บริษัท ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ จำกัด และวิทยากรที่ได้รับลิขสิทธิ์การสอนหลักสูตร
Six Thinking Hats ของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์ระดับโลกอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในการคิดค้นและพัฒนาหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกให้เด็กไทยได้เปิดโลกทัศน์ พัฒนาพลังแฝงที่ซ่อนอยู่ในตัวออกมาในเชิงสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้คิดนอกกรอบ นอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมีการเวิร์กช็อปเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนการเรียนเทคนิคการนำเสนอผลงานให้น่าประทับใจ โดยเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในค่ายจะต้องนำเสนอผลงานจริงต่อหน้าคณะกรรมการ และจะมีเพียง 3 ทีมจากแต่ละภาคที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ


อาจารย์รัศมี ธันยธร กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดและทำสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทักษะด้านการคิด เพื่อเป็นพื้นฐานของการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ และการแก้ปัญหาต่างๆ ของเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งถ้าเยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันแล้ว เชื่อว่าประเทศไทยจะพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

โครงการนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างนักคิด โดยมุ่งพัฒนาให้เด็กไทยคิดนอกกรอบ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนการสอนอย่างมีระบบ พร้อมทั้งส่งเสริมให้พวกเขาสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมและเกื้อหนุนความคิดสร้างสรรค์ของคนรอบข้าง รวมถึงเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหันมาเห็นความสำคัญของพลังแห่งจินตนาการที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


"หลักสูตรพิเศษที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับโครงการ
'Samsung Hope for Children - ซัมซุงสร้างนักคิด' ซึ่ง 'Cresitive Thinking' มาจาก creative + positive ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรแรกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเด็กและเยาวชนไทยโดยเฉพาะ โดยมุ่งให้เกิดการฝึกปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน เพื่อให้เด็กกล้าคิดและกล้านำเสนอความคิดเห็นต่อผู้อื่น เป็นการฝึกให้คิด ซึ่งเราต้องส่งเสริมให้เยาวชนไทยเก่งรอบด้าน มิใช่มุ่งเน้นให้เก่งในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว" อาจารย์รัศมี กล่าว

ด้าน นางจันทร์วิภา พิพัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ ซัมซุงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้คนทั่วโลก รวมถึงการมุ่งมั่นเน้นพัฒนาในเรื่องของเด็กและการศึกษาเป็นสำคัญ จนเกิดเป็นโครงการของสังคมภายใต้ชื่อ
'Samsung Hope for Children' ขึ้นทั่วโลก ที่ผ่านมาซัมซุงประเทศไทยได้ร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อมอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียนรู้ รวมไปถึงที่อยู่อาศัย และความรักความอบอุ่นให้แก่เด็กและเยาวชนในประเทศไทย

อาจารย์รัศมี ธันยธร

"ในปีนี้ ซัมซุงได้สร้างปณิธานใหม่ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม ด้วยการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนจากทั่วประเทศได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนของตนเองและเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ โดยซัมซุงมองว่าการปลูกฝังเรื่องความคิดสร้างสรรค์กับเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของประเทศชาติ การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน อันเป็นอนาคตของชาติให้เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต โดยซัมซุงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าความคิดสามารถเปลี่ยนโลกได้ เราจึงต้องติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เด็กและเยาวชนไทย ผ่านทางการสอนให้คิดเป็น" นางจันทร์วิภา กล่าว


ทั้งนี้ โรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกภาคกลาง 3 ทีม ได้แก่ 1.โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ (กรุงเทพฯ) ผลงานหมวกเซ็นเซอร์ 2.โรงเรียนด่านช้างวิทยา (สุพรรณบุรี) ผลงานถังอัจฉริยะ 3.โรงเรียนพรหมานุสรณ์ (เพชรบุรี) ผลงานโปรเจคเตอร์พกพา

หลังจากนี้ซัมซุงจะจัดค่ายซัมซุงสร้างนักคิด ขึ้นอีกใน 3 ภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีตลอดเดือนกรกฎาคมนี้
นางจันทร์วิภา กล่าวทิ้งท้ายว่า ซัมซุงเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้วังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทยพร้อมส่งเสริมสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกที่ดี และช่วยพัฒนาให้เด็กและเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติให้เติบโตขึ้นเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต อีกทั้งอาจารย์ที่ได้เข้าร่วมโครงการยังสามารถนำความรู้จากหลักของโครงการ ‘Samsung Hope for Children – ซัมซุงสร้างนักคิด ไปพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนรวมถึงตัวเด็กที่เข้าร่วมโครงการเองก็สามารถนำความรู้ไปพัฒนาตัวเอง เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการและชมตัวอย่างผลงานของเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้ที่ http://www.samsung.com/th/hope


ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/edu/276495