วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

   
       นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  เรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดีที่มา

    ที่มา http://www.oknation.net   เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

     ธอร์นไดค์ (Thorndike) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งนั้น สถานการณ์ทั้งสองจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้าย คลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และ เจตคติ ที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
     เกสตัลท์ (Gestalt) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหา และรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม

    
      ที่มา http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=86    เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

      นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  


      สรุป เรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัส และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งการมองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหา และรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม

     ที่มา http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

    
     นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

      ที่มา http://www.oknation.net   เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

    นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
      แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

      ที่มา http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

      แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

      ที่มา http://5211013928.multiply.com/journal/item/3/3  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

      สรุป ธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ การใช้สื่อจริงในการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น การศึกษาควรพิจารณาจากอายุเป็นหลักยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็กซึ่งเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้ไปสู่เป้าหมายปลายทางที่ตนต้องการโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)



 
      นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

         ที่มา http://www.oknation.net   เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

       นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
       1.1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิด คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
      1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (Bad-active)
     2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
     3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
     4) การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
     5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
    1.1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักิคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อ
    1) พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลมา
    2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
   3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
  4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา



          ที่มา http://dontong52.blogspot.com/  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

         แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

      ที่มา http://5211013928.multiply.com/journal/item/3/3  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

     สรุป  ทฤษฎีการฝึกจิตหรือสมองหรือสติปัญญาทำได้โดยทำให้บุคคลผู้เรียนเรียนรู้ในสิ่งงที่ยากๆยิ่งมากเท่าไรจิตก็จะฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้น เป็นการฝึกโดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาซึ่งใช้วิธีแบบการบรรยายมีการใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาและช่วยเพิ่มเติมประสบการใหม่ให้แก่ผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนจะเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อยเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและมีความหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดในการแก้ปัญหาได้